การประมง
จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับชายทะเล ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย ตั้งแต่อำเภอบ้านแหลมจนถึงอำเภอชะอำ
ระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร ทำให้อาชีพการประมงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ สร้างรายได้ให้กับจังหวัด การประมงของจังหวัดเพชรบุรี
ส่วนใหญ่เป็นการประมงแบบยังชีพ ซึ่งแบ่งการประมงได้ 3 ประเภท ได้แก่ การประมงน้ำจืด การประมงน้ำเค็มและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แต่ผลผลิตของการประมงส่วนใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรี ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ที่มีการเร่งรัดพัฒนา
อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลชายฝั่งทะเล ในพื้นที่ อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมือง
และอำเภอชะอำ มีผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งหลายรายดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด อาชีพการเพาะเลี้ยงกุ้งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและทำ
รายได้ให้แก่จังหวัดเพชรบุรีจำนวนไม่น้อย แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการทำลายป่าชายเลนและมลพิษของน้ำทะเล
ทำให้แหล่งน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งเป็นแหล่งรองรับตะกอนและสิ่งเจือปนจากแหล่งต่าง ๆ ผลที่ตามทำให้เกิดมลภาวะจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อกุ้ง
จากการสำรวจ มีปริมาณสัตว์น้ำทั้งจากการทำประมงในทะเล ประมงน้ำจืด และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปี 2547 – 2548 มีผลผลิต
รวม 30,548 ตัน มีมูลค่า 523,844,577 บาท แบ่งเป็น
ผลผลิตสัตว์น้ำเค็ม
1. จากการประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- กุ้งทะเล ผู้ประกอบการ 276 ราย ผลผลิต 636 ตัน (คิดจากผู้มาขอใบอนุญาตจับกุ้ง)
- หอยแครง ผู้ประกอบการ 176 ราย ผลผลิต 8,600 ตัน
- หอยแมลงภู่ ผู้ประกอบการ 165 ราย ผลผลิต 6,250 ตัน
2. จากการประกอบการด้วยเครื่องมือประมงทะเล
- จำนวนเรือประมงที่ใช้ในการประกอบการ จำนวน 1,373 ลำ ผลผลิต 24,442 ตัน
3. จำนวนครัวเรือนประมง 1,783 ครัวเรือน
- ท่าเทียบเรือ 11 แห่ง
- โรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง 1 แห่ง
- โรงงานน้ำแข็ง 5 แห่ง
- โรงงานน้ำปลา 2 แห่ง
http://www.promma.ac.th/main/local_education/unit7/p1_2.htmlThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น