วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การทำประมง

<iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/TtEsgcyNVwY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

ภาพการประมง





เศรษฐกิจประมง

บทบาทของการประมงต่อเศรษฐกิจ
และสังคมของไทย

                        การประมงเป็นอาชีพหลักที่สำคัญทางเศรษฐกิจสาขาหนึ่งของประเทศไทย มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีกิจกรรมทางด้านการประมงที่โดดเด่น โดยเฉพาะทางภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกของประเทศ มีแนวชายฝั่งทะเลรวมทั้งประเทศยาวถึง3,534 กิโลเมตร จึงมีการทำการประมงทะเลอย่างกว้างขวาง  คำว่า การประมง” มีความหมายแปลตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 ว่า งานหรือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการจับสัตว์น้ำ ซึ่งประกอบด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำประมง” ส่วนในพระราชบัญญัติการประมง พ.. 2490 มาตรา วรรค ให้ความหมายของคำว่า ทำการประมงหมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่า หรือ เก็บ  สัตว์น้ำ ในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีการใดผลของการประมงนี้    มีเจตนาประสงค์ให้ได้มาซึ่งสัตว์น้ำนั่นเอง ดังนั้นการประมงตามความหมายในรายวิชานี้ จึงหมายรวมได้ถึงการจับสัตว์น้ำทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลผลิตสัตว์น้ำและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ตลอดถึงธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการประมงและสภาพสังคมที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยที่นักศึกษา ควรจะทราบเป็นอย่างยิ่ง

ความสำคัญของการประมง

                        ประเทศไทยมีผลผลิตทางการประมงติดอันดับ ใน 10 ของประเทศที่มีผลผลิตสัตว์น้ำสูงสุดในโลกมาตั้งแต่ปี พ.. 2515 ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำรวมของไทยสูงถึงปีละ 3.7 ล้านตัน (ตารางที่ 1.1) โดยมีปริมาณสัตว์น้ำหลักมาจากสัตว์น้ำทะเลที่จับได้ในน่านน้ำไทย และน่านน้ำต่างประเทศ ผลผลิตสัตว์น้ำเหล่านี้มีบทบาทสำคัญทั้งด้านโภชนาการ การสร้าง รายได้ การจ้างงาน เป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และสร้างการมี    เสถียรภาพในสังคม 
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ประมงน้ำเค็ม

ประมงน้ำเค็ม อาจจะเหมาะรวมไปถึงในทะเล และชายฝั่ง ประเทศไทยของเรามีมากมายหลายพื้นที่ที่ทำการประมงแบบนี้เรียกได้ว่าทุกจังหวัดตลอดแนวทั้งฝั่ง อ่าวไทยและอันดามัน ด้วยความสมบูรณ์ของท้องทะเลแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์
อย่างเช่นป่าชายเลน แนวปะการัง ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ป่าชายเลนทั่วประเทศจะถูกบุกรุ้งเพื่อทำนากุ้งไปอย่างมากมาย
แต่ด้วยความสำนึกรักอนุรักษ์ของคนในพื้นที่หลายๆจังหวัดได้ทำการฟื้นฟูและมีป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่ๆขึ้นมาไม่แต่ปลา กุ้ง ปูเท่านั้น สัตว์อื่นๆก็เพิ่มขึ้นมาอีกหลายชนิด
บอกก่อนนะครับสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองนะ มันก็ย้ายถิ่นมาจากพื้นที่ใกล้เคียงมาหาที่อยู่ใหม่นี่ล่ะครับ
ประมงน้ำเค็มหรือชายฝั่งส่วนใหญ่จะทำกันเป็นล่ำเป็นสันคือเลี้ยงในพื้นที่ขนาดใหญ่เลี้ยงเพื่อการค้าโดยแท้จริง
อาชีพการประมงก็ถือได้ว่าเป็นกำลังหลักในเรื่องการผลิตอาหารเพื่อป้อนแก่คนไทยทั้งประเทศ
และประเทศอื่นๆราชการจึงให้ความสำคัญกับอาชีพเหล่านี้มีข้อมูลมากมายให้ท่านได้ติดต่อง่ายๆครับ
ประมงจังหวัดไม่ว่าจะน้ำจืดน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยติดต่อได้ง่าย เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาอยู่แล้วเพราะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานโดยตรง
ไม่ว่าจะมีปัญหาใด
อย่างเช่นท่านเจอปัญหาปลาตายหลังจากฝนตกหนักท่านสงสัยว่าโรงงานเหนือลำน้ำ
แอบปล่อยน้ำเสียลงมาหรือเปล่าท่านทำได้เบื้องต้นคือให้ประมงจังหวัดเข้ามาเก็บตัวอย่างปลา
เพื่อไปทดสอบหรือพิสูจน์ว่าตายเพราะสาเหตุใด สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิของเราชาวประมงและผู้ที่มีอาชีพประมงครับ อย่าละเลยไป….
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

การประมงเพรชบุรี

การประมง
                           จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับชายทะเล   ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย   ตั้งแต่อำเภอบ้านแหลมจนถึงอำเภอชะอำ   

ระยะทางประมาณ  82  กิโลเมตร  ทำให้อาชีพการประมงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ   สร้างรายได้ให้กับจังหวัด  การประมงของจังหวัดเพชรบุรี 

ส่วนใหญ่เป็นการประมงแบบยังชีพ       ซึ่งแบ่งการประมงได้  3  ประเภท  ได้แก่  การประมงน้ำจืด   การประมงน้ำเค็มและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  
แต่ผลผลิตของการประมงส่วนใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรี    ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ      โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ     ที่มีการเร่งรัดพัฒนา
อย่างรวดเร็ว     ตั้งแต่ปี 2529  เป็นต้นมา   จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลชายฝั่งทะเล    ในพื้นที่    อำเภอบ้านแหลม     อำเภอเมือง
และอำเภอชะอำ      มีผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งหลายรายดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด     อาชีพการเพาะเลี้ยงกุ้งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและทำ
รายได้ให้แก่จังหวัดเพชรบุรีจำนวนไม่น้อย      แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม      โดยเฉพาะการทำลายป่าชายเลนและมลพิษของน้ำทะเล   
ทำให้แหล่งน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งเป็นแหล่งรองรับตะกอนและสิ่งเจือปนจากแหล่งต่าง ๆ       ผลที่ตามทำให้เกิดมลภาวะจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อกุ้ง 
จากการสำรวจ      มีปริมาณสัตว์น้ำทั้งจากการทำประมงในทะเล ประมงน้ำจืด       และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปี  2547 – 2548  มีผลผลิต
รวม  30,548  ตัน    มีมูลค่า  523,844,577 บาท    แบ่งเป็น

              ผลผลิตสัตว์น้ำเค็ม
                   1. จากการประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
                                -  กุ้งทะเล  ผู้ประกอบการ  276  ราย  ผลผลิต  636  ตัน  (คิดจากผู้มาขอใบอนุญาตจับกุ้ง)
                               -  หอยแครง  ผู้ประกอบการ  176  ราย  ผลผลิต  8,600  ตัน
                               -  หอยแมลงภู่  ผู้ประกอบการ  165  ราย  ผลผลิต  6,250  ตัน
                  2.  จากการประกอบการด้วยเครื่องมือประมงทะเล
                              -  จำนวนเรือประมงที่ใช้ในการประกอบการ จำนวน 1,373 ลำ ผลผลิต  24,442  ตัน
                 3. จำนวนครัวเรือนประมง  1,783  ครัวเรือน
                            -  ท่าเทียบเรือ  11  แห่ง
                           -  โรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง  1  แห่ง
                          -  โรงงานน้ำแข็ง  5  แห่ง
                          -  โรงงานน้ำปลา  2  แห่ง
http://www.promma.ac.th/main/local_education/unit7/p1_2.html

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ประมงน้ำเค็ม

การประมง อาชีพประมง ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และยังคงเป็นแบบนี้เรื่อยๆ
ตราบใดที่เราใช้อย่างพอดีและพอประมาณเพื่อที่จะให้ธรรมชาติสร้างใหม่มาทดแทนสัดส่วนที่ใช้ไป


ประมงน้ำเค็ม อาจจะเหมาะรวมไปถึงในทะเล และชายฝั่ง ประเทศไทยของเรามีมากมายหลายพื้นที่ที่ทำการประมงแบบนี้เรียกได้ว่าทุกจังหวัดตลอดแนวทั้งฝั่ง อ่าวไทยและอันดามัน ด้วยความสมบูรณ์ของท้องทะเลแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์
อย่างเช่นป่าชายเลน แนวปะการัง ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ป่าชายเลนทั่วประเทศจะถูกบุกรุ้งเพื่อทำนากุ้งไปอย่างมากมาย
แต่ด้วยความสำนึกรักอนุรักษ์ของคนในพื้นที่หลายๆจังหวัดได้ทำการฟื้นฟูและมีป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่ๆขึ้นมาไม่แต่ปลา กุ้ง ปูเท่านั้น สัตว์อื่นๆก็เพิ่มขึ้นมาอีกหลายชนิด
บอกก่อนนะครับสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองนะ มันก็ย้ายถิ่นมาจากพื้นที่ใกล้เคียงมาหาที่อยู่ใหม่นี่ล่ะครับ
ประมงน้ำเค็มหรือชายฝั่งส่วนใหญ่จะทำกันเป็นล่ำเป็นสันคือเลี้ยงในพื้นที่ขนาดใหญ่เลี้ยงเพื่อการค้าโดยแท้จริง